วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

พระราชประวัติรัชกาลที่ 5



พระราชประวัติรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 






  พระราชประวัติ
             พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า " เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ " เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ( สมเด็จพระนางรําเพยภมรภิรมย์ ) พระองค์ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับวันอังคาร แรม 3 คํ่า เดือน 10 ได้ทรงรับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ และกรมขุนพอนิจประชานาถ
             ด้านการศึกษา พระองค์ทรงได้รับการศึกษาเป็นมาอย่างดี คือ ทรงศึกษาอักษรศาสตร์ โบราณราชประเพณี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยรัฐประศาสนศาสตร์ วิชากระบี่ กระบอง วิชาอัศวกรรม วิชามวยปลํ้า การยิงปืนไฟ เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติโดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สําเร็จราชการ พ.ศ. 2410 พระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ได้ส่งพระแสงกระบี่มาถวาย ครั้นพระชนมายุครบที่จะว่าราชการได้ พระองค์จึงได้ทรงทําพิธีราชาภิเษกใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2416 ทําให้เกิดผลใหญ่ 2 ข้อ

1. ทําให้พวกพ่อค้าชาวต่างประเทศหันมาทําการติดต่อกับพระองค์โดยตรง เป็นการปลูกความนิยมนับถือกับชาวต่างประเทศได้เป็นอย่างดีเยี่ยม
2. ทําให้พระองค์ มีพระราชอํานาจที่จะควบคุมกําลังทหารการเงินได้โดยตรงเป็นได้ทรงอํานาจในบ้านเมืองโดยสมบูรณ์

 การทํานุบํารุงบ้านเมือง
 การปกครอง พ.ศ. 2446 มีพระราชบัญญัติ ลักษณะเกณฑ์ทหารการปกครองฝ่ายทหาร และพลเรือน จึงแยกจากกันโดยสาเหตุ
1. กรมต่างๆ ทํางานไม่เท่ากัน
2. เกิดมีช่องทางทุจริตให้พนักงานในกรมบางกรม
3. อํานาจของเสนาบดีแต่ละกรม เลื่อนไปจากเดิม
4. หน้าที่ฝ่ายกรมต่างๆ ทางทหารและพลเรือนปนกันยุ่งมาก
5. เสนาบดีมีเกียรติไม่เสมอกัน เพราะงานเป็นต้นเหตุ
ประกอบกับพระองค์ได้รับรายงานแบบแผนการจัดคณะเสนาบดี จากสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์โรปการ ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ที่ยุโรป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกําหนดให้คณะเสนาบดี จัดเป็นกระทรวงเดิม มี 12 กระทรวง แก้ไขจนเหลือ 10 กระทรวง คือ
1. กระทรวงมหาดไทย
2. กระทรวงกลาโหม
3. กระทรวงการต่างประเทศ
4. กระทรวงนครบาล
5. กระทรวงวัง
6. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
7. กระทรวงเกษตรพานิชการ
8. กระทรวงธรรมการ
9. กระทรวงโยธาธิการ
10. กระทรวงยุติธรรม

 การบริหารงานส่วนภูมิภาค
             การปกครองมณฑลได้วางระเบียบการปกครองแบบลักษณะเทศาเทศาภิบาลขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2437 - 2439 มณฑลทั้ง 6 นี้ จึงเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะมณฑลเทศาภิบาลด้วยการปกครองแบบนี้ มีผู้บัญชาการมณฑลเป็นผู้บริหารงานในมณฑลนั้นๆ ตามนโยบายของเสนาบดี ตําแหน่งหน้าที่ราชการ มีการให้เงินเดือนสร้างบ้านพักหลวงให้อยู่อาศัย งดการกินเมืองแบบเก่าๆ

 การเลิกทาส
             พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าทาสมักจะถูกนายเงินกดขี่ข่มเหง ต้องทํางานอาบเหงื่อต่างนํ้า ทาสบางคนที่ไม่ทําตามคัาสั่งจะถูกลงโทษอย่างทารุณ ถึงเลือดตกยางออก แม้จะทําผิดเพียงเล็กๆน้อยๆ พระองค์ทรงพระเมตตาต่อมนุษย์ ด้วยทรงเห็นว่าไม่ยุติธรรม ยังทรงมีพระราชดําริด้วยว่า การมีทาสเป็นเครื่องถ่วงความเจริญของชาติการเลิกทาส พระพุทธเจ้าหลวงทรงเห็นว่าควรลดจํานวนทาสลงจึงทรงตราพระราชบัญญัติลดทาส เมื่อ พ.ศ. 2411 จนกระทั่ง พ.ศ. 2448 จึงมีพระราชบัญญัติเลิกทาส ทาสที่ปรากฎในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีอยู่ 7 พวกคือ

1. ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่ขายตังเองหรือถูกคนอื่นขายให้แก่นายเงิน ต้องทํางานจนกว่าจะหาเงินมาใช้แทนเงินราคาขาย จึงจะหลุดเป็นไท
2. ทาสในเรือนเบี้ย คือ ลูกทาสที่เกิดจากพ่อแม่ในขณะเป็นทาสนายเงินอยู่ ลูกที่ออกมาก็ตกเป็นทาสไปด้วย
3. ทาสได้มาแต่บิดามารดร คือ ลูกทาสที่เกิดจากพ่อ หรือ แม่ที่เป็นทาส
4. ทาสท่านให้ คือ ทาสของคนอื่นที่ยกให้กับอีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งมีค่าเหมือนยกสิ่งของเปลี่ยนมือกัน
5. ทาสที่ช่วยมาจากโทษทัณฑ์ คือ ทาสที่ถูกคดีความ พอช่วยให้พ้นโทษแล้วก็เอามาใช้เป็นทาส
6. ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย คือ ทาสที่ได้มาจากคนที่ถูกภัยธรรมชาติหมดตัว ไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ยามข้าวยากหมากแพง
7. ทาสเชลย คือ ทาสที่แม่ทัพนายกองได้มาจากส่วนแบ่งเชลยจากการออกรบสงคราม
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดําเนินนโยบายด้วยพระปรีชาญาณอย่างสุขุมรอบคอบ ทรงดําเนินงานเพื่อเลิกทาสด้วยวิธีการต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2417 ถึง พ.ศ. 2448 ทรงเลิกทาสแต่ละจําพวกด้วยวิธีการต่างๆคือ

             ทาสเชลย ได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระได้เมื่อมีอายุ 60 ปี
           ทาสนํ้าเงิน ให้หมดค่าตัวเมื่ออายุ 60 ปี เช่นเดียวกับทาสเชลย
             เมื่อคราวเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อ พ.ศ. 2420 พระองค์ทรงมีพระชนม์ได้ 24 ชันษา ซึ่งนับจํานวนวันได้ 8.766 วัน ( ปีละ 365 วัน 24 ครั้ง กับวันที่ 29 กุมภาพันธ์ อีก 6 ครั้ง ) ทรงบริจาคพระราชทรัพย์จํานวน 8.767 บาท ไถ่ถอนทาสได้ 44 คน ทาสทั้ง 44 คน ที่ได้รับการไถ่ถอนนั้น ทรงกําหนดให้เป็นพวกที่อยู่กับนายเงินรายเดียวมาไม่ตํ่ากว่า 25 ปี เพราะทรงพระราชดําริว่า " พวกเขาคงเป็นคนดีมากกว่าคนชั่ว นายเงินคนเดิมจึงยังคงเก็บตัวพวกเขาไว้เป้นสมบัติของตนไม่ขายต่อให้พ้นๆไปเสีย"
             พ.ศ. 2417 ได้ออกพระราชบัญญัติลูกทาส หญิงชายเกิดตั้งแต่ ปีมะโรงอายุ 21 ปี ให้หลุดเป็นไทแก่ตน ลูกที่พ่อแม่จะขายให้ไปเป็นทาสต้องมีอายุไม่ตํ่ากว่า 15 ปี และลูกต้องยินยอมตามกรมธรรม์ด้วย
             พ.ศ. 2448 ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสทั่วราชอาณาจักร ห้ามการซื้อขายทาส และบรรดาลูกทาสก็ให้ปลดปล่อยเป็นไทให้หมด พวกที่เป็นทาสเก่าให้ลดค่าตัวลงเดือนละ 4 บาท จนหมดค่าตัว

การออกกฎหมาย ได้อาศัยพวกลูกขุนช่วยเหลือพวกลูกขุน มี 2 พวก คือ
1. ลูกขุน ณ ศาลาได้แก่พวกข้าราชการและเสนาบดี
2. ลูกขุน ณ ศาลหลวงได้แก่ ผู้พิพากษาคดี มาเลิกใช้ใน พ.ศ. 2416 หลังจากที่พระองค์ทรงกลับจากประพาสอินเดีย พระองค์ได้นําเอาแบบการมีสภาของอินเดียมาใช้ พ.ศ. 2417 จึงโปรดให้ตั้งมนตรีสภาขึ้นสองสภา คือ รัฐมนตรีสภา กับ องคมนตรีสภา

 การแก้ไขขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
             ที่สําคัญคือการตัดผมชาย ให้ใช้แบบสากลเลิกทรงผมมหาดไทย หญิงไว้ผมยาว เครื่องแบบทหารก็เปลี่ยนแบบฝรั่ง เครื่องแบบข้าราชการพลเรือนเต็มยศ ใช้เสื้อแพรสีกรมท่าปักทองมีขอบคอและขอบข้อมือ ส่วนเวลาปรกติใช้เสื้อปิดคอ มีผ้าผูกคออย่างฝรั่ง ผ้านุ่งใช้ผ้าม่วงทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ต่อมาภายหลัง เสื้อให้ใช้เปลี่ยนเป็นเสื้อคอปิด นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมาจนถึง พ.ศ. 2475
 การทหาร
             พระองค์ได้ทางเร่งรัดการปฎิรูปทางการทหาร ให้ทันสมัยเลียนแบบยุโรปได้ส่งราชโอรสไปศึกษาวิชาทหาร ณ ยุโรป ปรับปรุงยุทธวิธีทางทหาร ยุบตั้งกรมกองต่างๆ เพิ่มขึ้น รวม 9 กรม กรมทหารบก 7 กรมทหารเรือ 2 กรม

พ.ศ. 2430 ได้ตราพระราชบัญญัติ ทหารขึ้นรวมกรมทหารเรือ เป็นกรมยุทธนาธิการตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบกขึ้น
พ.ศ. 2345 ตั้งกระทรวงกลาโหม มีหน้าที่บัญชาการรบทางทหารทั่วไป
 การสงคราม

              ปราบฮ่อครั้งที่ 1
              ฮ่อคือพวกจีนกบฎไทเผ็งของจีน การปราบฮ่อครั้งที่ 1 เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2418 ได้โปรดให้พระยามหาอํามาตย์เป้นทัพที่ 1 เจ้าพระยาพิชัยเป็นทัพที่ 2 เจ้าพระยาภูธรภัยเป็นทัพที่ 3 ตีพวกฮ่อแตกหนีไปจากชายแดนไทย

             ปราบฮ่อครั้งที่ 2
             เมื่อ พ.ศ. 2421 โปรดให้กองทัพเมืองทางเหนือไปก่อน ภายหลังให้เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิราช ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาวัชรานุกูลเป็นทัพหนุน แต่ปราบพวกฮ่อไม่สําเร็จ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราชถูกกระสุนปืนของพวกฮ่อต้องถอยทัพกลับคืน

             ปราบฮ่อครั้งที่ 3
            เมื่อ พ.ศ. 2428 โปรดให้กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมซึ่งขณะนั้นยังเป็นกรมหมื่นทัพที่ 1 เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีซึ่งขณะนั้นเป็นหมื่นไวยยวรนารถ เป็นแม่ทัพยกไปทางเมืองหลวงพระบางเป้นทัพที่ 2 การรบครั้งนี้ พวกฮ่ออ่อนน้อมต่อไทย
            ปราบฮ่อครั้งที่ 4
พวกฮ่อเผาเมืองหลวงพระบาง ได้โปรดให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรียกกองทัพไปปราบจนพวกฮ่อแตกหนีไป

 การเสียแว่นแคว้นลาวแก่ฝรั่งเศส
             หลังจากปราบฮ่อแล้วฝรั่งเศสได้ส่งทหารเข้ายึดหัวเมืองสิบสองจุไทย และหัวพันทั้งห้าทั้งหก ไทยจะเจรจาอย่างไร ฝรั่งเศสก็ไม่ยอมถอนทหารออกไป ผลที่สุดไทยก็ต้องยอมยกให้ฝั่งเศสไปโดยปริยายและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "เดียนเบียนฟู"
             พ.ศ. 2435 ฝรั่งเศส พยายามเรียกร้องเอาดินแดนทางฝั่งซ้ายของแม่นํ้าโขงจากไทย แต่ไทยไม่ยอมให้ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้รวบรวมเอาทหารญวนบุกรุกเข้ามาในเขตแดนฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขงของไทย แต่ไทยไม่ยอมในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบมาปิดปากอ่าว และส่งทหารเข้ายึดเกาะสีชัง ไทยมีกําลังไม่พอจึงยอมปฎิบัติตามคําเรียกร้องของฝรั่งเศส
             พ.ศ. 2449 ไทยต้องทําสัญญาอีกฉบับ ยกเขมรส่วนในมีเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับเมืองตราด และเกาะทั้งหลาย ซึ่งอยู่ใต้แหลมสิงห์ลงไปจนจดเกาะกูด

พ.ศ. 2452 อังกฤษเริ่มเข้ามารุกรานไทยเพราะอังกฤษเห็นฝรั่งเศสบีบไทยได้อังกฤษจึงทําบ้าง ซึ่งครั้งนี้ไทยต้องเสียกลันตัน ตรังกานู ปลิส และเกาะใกล้เคียงให้กลับอังกฤษ
พ.ศ. 2434 พระเจ้าชาร์ นิโคลาส ที่ 2 แห่งประเทศรัสเซียได้เสด็จมาประพาสประเทศไทย เป็นการต้อนรับที่เต็มไปด้วยไมตรี
พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก
 ศาสนา

พ.ศ. 2431 พระองค์ได้ทรงอาราธนา พระราชาคณะให้มาช่วยชําระคัมภีร์พระไตรปิฎกให้เป็นที่เรียบร้อย
พ.ศ. 2441 ที่เมืองกบิลพัสดุ์ ได้มีผู้พบพระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้าอุปราชอินเดียมาควิสเตอร์ซัน ได้จัดชิงพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย
พ.ศ. 2445 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติ ลักษณะปกครอง คณะสงฆ์เพื่อที่จะได้จัดสังฆมณฑลให้เป็นที่เรียบร้อย แบ่งคณะมหาเถระสมาคมออกเป็น 4 คณะใหญ่ด้วยกันคือ คณะกลาง คณะเหนือ คณะใต้ และคณะธรรมยุติกนิกาย
พ.ศ. 2435 จัดตั้งระเบียบการศึกษาพระศาสนาให้มีสนามสอบไล่ พระปริยัติธรรม ได้โปรดให้ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นเพื่อควบคุม

             โปรดให้สร้างวัดต่างๆขึ้นมาหลายวัด เช่น วัดเทพศิรินทราวาส วัดเบญจมบพิตร วักราชบพิธ วัดจุฑาธรรม วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ ทรงจําลองพระพุทธชินราชมาจากพิษณุโลก มาประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ที่วัดเบญจมบพิตร รวบรวมพระพุทธรู)ที่ตกค้างมาประดิษฐไว้นอบระเบียงวัดเบญจมบพิตร ตั้งมหาธาตุวิทยาลัย

 การศึกษา
โปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง และได้โปรดให้พระยาศรีสุนทรโวหาร ( น้อย ) เป็นอาจารย์ใหญ่
พ.ศ. 2424 โปรดให้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดผู้ที่ต่อไปจะทําหน้าที่นายร้อยนายสิบ
พ.ศ. 2425 จัดตั้งโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก
พ.ศ. 2430 จัดตั้งกรมศึกษาธิการ
พ.ศ. 2435 โปรดให้ตั้งกระทรวงกรรมการ เป็นกระทรวงเสนาบดี และตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นเป็นแห่งแรกที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ เดี๋ยวนี้โดยมีครูเป็นชาวอังกฤษ
พ.ศ. 2439 โปรดให้มีการสอบคัดเลือกนักเรียนส่งไปเรียนต่อต่างประเทศ 6 คน
พ.ศ. 2440 ให้มีการสอบชิงทุนขึ้นเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2444 ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์ของผู้แต่งหนังสือ ออกประกาศใช้บังคับ
พ.ศ. 2445 ส่งข้าหลวงไปดูงานการศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. 2447 ได้โปรดให้รวมหอสมุดวชิรญาณ หอพระมณเฑียรธรรม หรือหอพระพุทธสังคหะ รวมกันตั้งเป็นหอสมุดแห่งชาติ

สวรรคต
             พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครองราชสมบัตินานถึง 42 ปี เสด็จสู่สวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ( ตรงกับวันอาทิตย์ ) พระองค์ทรงมีพระสมมัญนามอีกสองอย่างคือ พระพุทธเจ้าหลวง และพระปิยะมหาราช มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 77 พระองค์ ประสูติก่อนราชาภิเษก 2 พระองค์ หลังราชาภิเษกแล้ว 75 พระองค์ เมื่อหลังจากสวรรคตแล้ว พระราชโอรสพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระยุพราชได้ชักชวนประชาชนร่วมกันบริจาคสร้างพระบรมรูปทรงม้าไว้เพื่อเป็นอนุสาวรีย์
 พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๕


           เป็นรูปพระจุลมงกุฎเปล่งรัศมี บนพานแว่นฟ้า เป็นสัญลักษณ์ของ พระบรมนามาภิไธย "จุฬาลงกรณ์" มีฉัตรตั้งขนาบข้าง ริมขอบสองข้าง มีแว่นสุริยกานต์ข้างหนึ่ง กับสมุด ตำราข้างหนึ่งวางอยู่บนพานแว่นฟ้า





วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561

ด้านการเมืองการปกครอง

                                ด้านการเมืองการปกครอง






การปฏิรูปการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์นั้น  พระองค์ทรงมีพระชนมายุ
ได้เพียง  15  พรรษา  มีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค) 
ทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  การปกครองส่วนใหญ่อยุ่ในมือของราชินิกุลสายบุนนาค
สาเหตุของการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่

ปัจจัยภายใน

การเมือง  ถือเป็นเหตุการณ์ความวุ่นวายภายในประเทศ  จะเห็นได้ว่า  เมื่อรัชกาลที่ 5  ขึ้นครองราชย์
 พระองค์แทบจะไม่มีพระราชอำนาจเลย  เพราะอำนาจทางการเมืองส่วนใหญ่
ตกอยู่กับขุนนางตระกูลบุนนาค  ดังจะเห็นได้จากช่วงต้นรัชกาล  สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ทำการแต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิชัยชาญขึ้นดำรงตำแหน่งวังหน้าเอง   ต่อมาใน  พ.ศ.  2418  เกิดความตึงเครียดระหว่างฝ่ายวังหลวงกับฝ่ายวังหน้า  ที่เรียกว่า  “วิกฤตการณ์วังหน้า”
2.  การปกครอง  พบว่า  การแบ่งงานในส่วนกลางเกิดความสับสนก้าวก่ายกัน  เป็นผลให้การดำเนินงานของรัฐบาลล่าช้า  ขาดประสิทธิภาพ  เกิดความแตกแยก
ส่วนงานบริหารราชการส่วนภูมิภาคนั้น  ในทางปฏิบัติรัฐบาลปกครองหัวเมืองโดยตรงได้เพียงไม่
กี่หัวเมืองที่ตั้งอยู่รอบๆ พระนคร  ซึ่งสาเหตุสำคัญ  คือ  ปัญหาจากการคมนาคม  และการที่พระเจ้าแผ่นดินมีพระราชทรัพย์ น้อย  จึงไม่สามารถส่งข้าราชการของตนไปปกครองหัวเมืองได้มาก  พวกข้าราชการในหัวเมืองตั้งตนเอง เป็นใหญ่  และคอยปิดบังไม่ให้รัฐบาลทราบว่า  มีภาษี  รายได้  หรือจำนวนประชากรเท่าไร 
อีกทั้งรัฐบาลมิได้มีสิทธิ์แต่งตั้งเจ้าเมืองตามกลไกของรัฐ  รัฐบาลเพียงแต่ทำหน้าที่แค่รับรองอำนาจ
เจ้าเมืองเท่านั้น  เมื่อเจ้าเมืองได้รับการรับรองอำนาจอย่างเป็นทางการจากราชธานีแล้ว  ก็เริ่มทำการ 
“กินเมือง”  (เก็บภาษี  ใช้แรงงานไพร่  เก็บเงินราชการจากไพร่  มีสิทธิลงโทษพลเมืองของตน) 
กรุงเทพฯจึงควบคุมหัวเมืองได้แบบหลวมๆ  เท่านั้น
3.  การคลัง  พบว่า  รายได้ที่เข้ามาสู่วังหลวง  มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงปรากฏ
ไปทั่วทุกกรมกอง  ผลประโยชน์ของแผ่นดินกลายเป็นรายได้ส่วนตัวของเจ้าภาษีนายอากร  และขุนนาง ในหัวเมือง  ส่วนขุนนางจากส่วนกลางที่ดูแลหัวเมืองสามารถสร้างความสัมพันธ์กับเจ้าภาษีนายอากร    และขยายเครือข่ายทางการค้าของตนเองออกไปอย่างกว้างขวางจนมีฐานะมั่งคั่งมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งขุนนางตระกูลบุนนาค
4.  สังคม  ปัญหาของสังคมไทยที่สำคัญ  คือ  ระบบไพร่และทาสกำลังเสื่อมลงถึงจุดต่ำสุด  กษัตริย์ไม่ สามารถคุมกำลังคนได้จริงตามระบบ  กลายเป็นขุนนางที่คุมกำลังไพร่  นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาการควบคุมชาวจีนที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น  ชาวจีนเหล่านี้เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาษีนายอากร  และ เจ้าของแหล่งผลิตขนาดใหญ่  ซึ่งมีความสำคัญต่อการเติบโตทั้งทางการค้าและการผลิตของกรุงเทพฯ

ปัจจัยภายนอก

เกิดจากภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตก  ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้อง รักษาเสถียรภาพของเมืองไทยไว้ด้วยการสร้างอำนาจให้แก่รัฐบาล  เพื่อจะได้ทรงเป็นผู้วางแผนการ ปฏิรูปการปกคอรงให้รัดกุมและเหมาะสม  เพื่อความมั่นคงของราชบัลลังก์และเอกราชของประเทศ
                 
ขั้นตอนของการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่  5

แบ่งออกเป็น  2  ระยะ
ระยะแรก  (พ.ศ.  2413 – 2430)
พ.ศ.  2413  ทรงตั้งกรมทหารมหาดเล็กขึ้น  เพื่อให้เป็นเสมือนกองทัพของพระมหากษัตริย์ 
เป็นที่น่าสังเกตว่า  ในระยะเวลานี้ทรงหันมาใช้ราชินิกูลสาย “ชูโต” เพื่อคานอำนาจกลุ่มตระกูลสาย “บุนนาค”  แทน
พ.ศ.  2416  ทรงจัดให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่  2
หลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ทรงตราพระราชบัญญัติขึ้น  4  ฉบับ  คือ  พระราชบัญญัติว่าด้วย
รัฐมนตรีสภาและองคมนตรีสภา,  ว่าด้วยการจัดการพระคลังทั้งปวง,  ตระลาการศาลรับสั่ง, 
และพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย
พระราชบัญญัติเหล่านี้  ทำให้เจ้านายและขุนนางหลายฝ่ายเสียผลประโยชน์  เช่น  พระราชบัญญัติ
การจัดการพระคลังทั้งปวง  ทำให้เกิดการตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์  ทำหน้าที่จัดการรายรับรายจ่ายของแผ่นดิน  รวบรวมภาษีอากรเข้าสู่คลังหลวง  ถือเป็นการลิดรอนอำนาจของกรมกองต่างๆ  ที่เคยเก็บภาษีได้
เอง  ในที่สุดได้เกิดความขัดแย้งระหว่างวังหน้ากับวังหลวงที่เรียกว่า  “วิกฤตการณ์วังหน้า”  ในปี  พ.ศ.  2418  เหตุการณ์วิกฤตการณ์วังหน้านี้  เป็นเหตุให้รัชกาลที่  5  ทรงหยุดการปฏิรูปลงชั่วคราว 
แล้วดำเนินวิเทโศบายแบบค่อยเป็นค่อยไปแทนจน พ.ศ.  2428  เมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคต  รัชกาลที่  5  ทรงประกาศยกเลิกตำแหน่งวังหน้า  และแต่งตั้งตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมารขึ้นแทน  ในระยะ  10  ปี  ที่การปฏิรูปเมืองหลวงหยุดชะงักไปนั้น  การปฏิรูปการปกครองทางหัวเมืองได้ดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่อง  รัฐบาลเริ่มป้องกันอิสรภาพและเอกภาพของเมืองไทย  โดยส่งข้าหลวงไปประจำยังเมืองประเทศราชและหัวเมือง ตามชายแดนในตำแหน่ง  “ข้าหลวงประจำหัวเมือง”  เพื่อกระชับการปกครอง  การศาลและการคลัง 
มีการพัฒนาด้านการคมนาคม  สร้างทางรถไฟ  เริ่มทำแผนที่  และจัดตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลข  นอกจากนี้พระองค์ท่านยังออกเสด็จประพาสตามหัวเมืองต่างๆ  หลายครั้ง  การกระชับการปกครองหัวเมืองต่างๆ  เพื่อรักษาเสถียรภาพทางชายแดนให้พ้นจากภัยคุกคามของมหาอำนาจตะวันตก
ระยะที่สอง  (พ.ศ.  2430 – 2435)

การปกครองส่วนกลาง

            ทรงยกเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์  ยกฐานะกรมขึ้นเป็นกระทรวงทั้งหมด  12  กระทรวง

การปกครองส่วนภูมิภาค

            มีการยกเลิกระบบกินเมืองที่สืบทอดตำแหน่งกันในตระกูลเจ้าเมือง  และจัดรูปแบบ การปกครองใหม่  พ.ศ.  2437  ทรงให้กระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่ในการจัดระเบียบการปกครอง ส่วนภูมิภาคในลักษณะการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง  คือ  ระบบเทศาภิบาล  แบ่งการปกครองออกเป็นมณฑล  โดยการรวมหัวเมืองทั้งหมดไว้ภายใต้การบังคับบัญชาของกระทรวง ________  กระทรวงดังกล่าวจะมอบนโยบายให้ข้าหลวงเทศาภิบาลออกไปประจำมณฑล  ต่อมามี กฎหมายข้อบังคับลักษณะปกครองหัวเมือง  ร.ศ.  117  (พ.ศ.2441)  มีผลให้การบังคับบัญชาเป็น  
มณฑล  เมือง  อำเภอ  ตำบล  หมู่บ้าน  ตามลำดับ 
 
การปกครองส่วนท้องถิ่น

พ.ศ.  2448  ประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล  โดยเริ่มเป็นครั้งแรกที่  ท่าฉลอม 
สมุทรสาคร  ราษฎรได้รับสิทธิ์ในการเลือกผู้ปกครองของตนเองในระดับหมู่บ้านและตำบล  ราษฎรที่
หลุดพ้นจากระบบไพร่และทาสจะมาขึ้นตรงต่อรัฐบาลของพระมหากษัตริย์  มีการขึ้นทะเบียนราษฎร
ทุกคนให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทยแทนที่ระบบศักดินา
นอกจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงปฏิรูปการเมืองการปกครองแล้ว  ยังทรง
ปฏิรูปในด้านอื่นๆ  ของประเทศด้วย  ดังนี้

การปฏิรูปการคลัง


รัชกาลที่  5  ทรงวางมาตรการต่างๆ  เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐ  โดยตั้ง  “หอรัษฎากรพิพัฒน์” 
ขึ้นทำหน้าที่จัดการรายรับรายจ่ายของแผ่นดิน  มีการปฏิรูประบบเงินตรา  เช่น  สร้างหน่วยเงินที่
เรียกว่า  “สตางค์”  มีการจัดตั้งกรมธนบัตรเพื่อทำหน้าที่ในการออกธนบัตรให้มีมาตรฐานแบบตะวันตก และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งแบงค์สยามกัมมาจลทุน  จำกัด  รัฐค่อยๆเปลี่ยนฐานภาษีจากสุรา  ฝิ่นและ
การพนัน  มาสู่การเก็บภาษีจากผลผลิต  ภาษีที่ดิน  และรัชชูปการมากขึ้น  ทำให้อิทธิพลของเจ้าภาษี
นายอากรและพ่อค้าชาวจีนลดลง
การปฏิรูปการศาลและกฎหมาย
ทรงยกเลิกแบบจารีตนครบาล  และรวบรวมงานการศาลมาไว้ในที่เดียวกัน
การปฏิรูปสังคม

                ทรงมีพระราชดำริยกเลิกระบบไพร่และทาส  มีดังนี้

1.  การเลิกไพร่  เนื่องจากระบบการควบคุมไพร่ในช่วงนี้ไร้ประสิทธิภาพ  พระมหากษัตริย์ไม่สามารถ
ควบคุมคนได้ด้วยเหตุการณ์วิกฤตการณ์วังหน้าใน  พ.ศ.  2417  แสดงให้เห็นว่ากำลังไพร่พลที่ถูกฝึกหัด ตามแบบทหารตะวันตกสามารถสร้างความไม่มั่นคงให้แก่ราชบัลลังก์ได้  อีกทั้งผลจากสนธิสัญญาเบาว์ริงทำให้เกิดการขยายตัวทางการผลิตและค้าข้าวทำให้ต้องการแรงงานเพื่อใช้ในการทำนา  เกิดปัญหา การควบคุมกำลังคน  และการคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตกที่มองว่าการเกณฑ์แรงงานและ การสักเลกเป็นเรื่องเลวร้าย  ขณะเดียวกันรัฐบาลก็จำเป็นต้องมีกองทหารแบบตะวันตกเพื่อป้องกันประ เทศด้วย
รัชกาลที่  5  จึงโปรดเกล้าดังนี้
1.1)      ยกฐานะกรมพระสุรัสวดีให้เท่าเทียมกับกรมสำคัญอื่นๆ
1.2)      ฟื้นฟูกรมทหารหน้า  ในปี  พ.ศ.  2423  ได้ประกาศรับสมัครคนข้อมือขาวหรือไพร่ที่ไม่มีสังกัดมูลนายเข้าเป็นทหาร
1.3)      ควบคุมคนให้ขึ้นสังกัดตามท้องที่การทำสำมะโนครัว  โดยเริ่มจากระดับหมู่บ้าน  ในปี  พ.ศ. 
2442  มีการประกาศเลกที่ไม่ได้เป็นทหารให้ขึ้นสังกัดท้องที่  ถือเอาท้องที่ไพร่อยู่ตามทะเบียนสำมะโน ครัวเป็นสำคัญ  เป็นการยกเลิกไพร่ผ่านมูลนายในที่สุด
1.4)      พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์จ้าง  พ.ศ.  2443  กำหนดให้ค่าจ้างแก่ผู้ถูกเกณฑ์
1.5)      พระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหาร  พ.ศ.  2448  กำหนดชายฉกรรจ์ทุกคนอายุ                18 – 60  ปี  ต้องเป็นทหาร
  ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกต้องเป็นทหารประจำการ  2  ปี  โดยเริ่มที่ชลบุรี  กับมณฑลนครราชสีมา 
นครสวรรค์  พิษณุโลก  และราชบุรี  จนกระทั่งทั่วประเทศในสมัยรัชกลที่  6
การเลิกทาส  พ.ศ.  2417  ออก พ..บ. พิกัดเกษียณลูกทาสลูกไท  กำหนดให้ลูกทาสที่เกิด
ปี พ.ศ.  2411  เมื่ออายุ  21  ปี  เป็นไท  (มีผลเมื่อพ.ศ.2432)     แล้วปี  พ.ศ.  2448  ออก พ..บ. เลิกทาส
3.การปฏิรูปการศึกษา

                ปัจจัยผลักดันให้มีการจัดการศึกษา
  คือ  การเข้ามาของมิชชันนารี,  การเสด็จประพาสต่างประเทศของรัชกาลที่  5,  ตลอดจนต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถสมัยใหม่
-พ.ศ.  2414  ตั้งโรงเรียนในวังหลวง
-พ.ศ.  2424  ตั้งโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก
-จนกระทั่ง  พ.ศ.  2427  มีการตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้น  คือ  โรงเรียนวัดมหรรณาพาราม 
มีจุดประสงค์การจัดการศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรเข้ารับราชการเป็นสำคัญ
-พ.ศ.  2441  แยกการศึกษาออกเป็น  2  ประเภท  คือ  การศึกษาสามัญและการศึกษาพิเศษ
การจัดการศึกษานี้เป็นผลให้ในที่สุดพวกขุนนางต้องเสื่อมอิทธิพลไป และสามัญชนมีโอกาสเลื่อนฐานะในสังคมของตนได้
การบริหารราชการแผ่นดินแบบรวมศูนย์นี้  ช่วยให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นมาก  ทั้งจากภาษีและการค้า 
รัฐนำรายได้นี้ไปใช้จ่ายในการป้องกันประเทศและจัดระเบียบการปกครองภายในให้มั่นคง  มีการ
ปรับปรุงการคมนาคมสื่อสาร  เช่น  การขุดคลอง  สร้างถนน  ติดตั้งเสาโทรเลข  และสร้างทางรถไฟ 
มีผลให้รัฐสามารถจัดการบ้านเมืองให้มีความสงบเรียบร้อยภายในและต้านทานการรุกรานของเจ้าอาณานิคมได้
การรวมอำนาจทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเข้าสู่สถาบันกษัตริย์ถือเป็นการสร้างชาติ  เมื่ออำนาจของรัฐขยายไปสู่ท้องถิ่นและสามารถบังคับบัญชาหัวเมืองอย่างเด็ดขาด  คนจึงถูกดึงให้มีความรู้สึกเป็น
อันหนึ่งอันเดียว  มีความผูกพัน  มีความจงรักภักดีต่อชาติ  และพระมหากษัตริย์
รัชกาลที่ 5  ทรงสร้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สำเร็จใน  พ.ศ.  2435  เป็นผลให้กรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองหลวงที่เป็นศูนย์กลางอำนาจอย่างแท้จริง  และเป็นการปฏิรูปที่ดึงอำนาจและ
ผลประโยชน์เข้าสู่ส่วนกลางมากที่สุดจนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากเจ้าประเทศราชและขุนนาง


หัวเมืองที่สูญเสียอำนาจและผลประโยชน์ต่างไม่พอใจ  ทำให้เกิดเป็นกบฏต่างๆ  เช่น  กบฏเงี้ยวเมืองแพร่  กบฏผีบุญภาคอีสาน  เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2561

ด้านเศรษฐกิจ



                     
                                                          ด้านเศรษฐกิจ





ในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเริ่มต้นพัฒนาทางเศรษฐกิจขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง เพราะเป็นผลมาจากการติดต่อกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง โดยปัจจัยที่เป็นแรงผลักดันให้มีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ มีดังต่อไปนี้

การปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตก เพื่อให้รอดพ้นจากการคุกคามของชาติมหาอำนาจตะวันตกนั้น จำเป็นต้องอาศัยเงินทุนเป็นจำนวนมหาศาล มิฉะนั้นการปฏิรูปจะดำเนินต่อไปไม่ได้ ดังนั้นการปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อให้รัฐมีรายได้เพียงพอต่อการปฏิรูปแผ่นดิน ครั้งใหญ่จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ปัญหาการคลังที่ล้าสมัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประสบอยู่ในขณะเสด็จขึ้นครองราชย์ จำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว เพราะไม่สนองตอบต่อนโยบายปฏิรูปแผ่นดินในทุกๆ ด้าน เพราะรัฐมีรายได้ไม่เพียงพอ เนื่องจากระบบการคลังขาดประสิทธิภาพ รายได้ของรัฐมีทางรั่วไหลมาก ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปฏิรูปเศรษฐกิจ อย่างเร่งด่วน ดังนี้

2.1 การปฏิรูปการคลัง ระบบการคลังเดิมนั้นไม่สามารถตรวจสอบและควบคุมการจัดเก็บรายได้และการใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงปฏิรูปการคลังดังต่อไปนี้

 จัดตั้งหอรัษฏากรพิพัฒน์ โดยมุ่งหมายจะให้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมพระราชทรัพย์ ซึ่งขึ้นอยู่ตามท้องพระคลัง จึงเป็นก้าวแรกของการปฏิรูปทางด้านการคลัง เพราะเป็นการเริ่มต้นรวมงานการเก็บภาษีอากรมาไว้ที่หอรัษฏากรพิพัฒน์ เพื่อให้เก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพของเจ้าพนักงานและเจ้าภาษีนายอากร ตลอดจนวางระบบป้องกันการทุจริตของเจ้าพนักงาน เงินภาษีอากรทั้งหมดจะต้องถูกส่งไปเก็บไว้ในท้องพระคลังทั้งหมด ก่อนที่จะแจกจ่ายให้กรมกองต่างๆ ใช้ในกิจการของตน

หอรัษฎากรพิพัฒน์






ประกาศใช้ พ.ร.บ.กรมพระคลังมหาสมบัติ ใน พ.ศ.2418 โดยจุดมุ่งหมายเพื่อจัดระเบียบราชการในกรมพระคลังมหาสมบัติให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยกำหนดวิธีการส่งเงิน รับเงิน ตรวจเงิน และการจัดลำดับตำแหน่งข้าราชการรับผิดชอบงานในระดับต่างๆ ตลอดจนกำหนดระเบียบปฏิบัติของเจ้าภาษีนายอากร และผู้เกี่ยวข้องในการส่งเงินต่อพระคลังมหาสมบัติ

 โปรดให้จัดระเบียบการจัดทำงบประมาณขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความสำคัญของการจัดทำงบประมาณ รายรับและรายจ่ายในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติราชการ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ เพราะแต่เดิมไม่มีการจัดทำงบประมาณรายรับรายจ่ายล่วงหน้า และต่อมาใน พ.ศ.2434 โปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบการจัดทำงบประมาณขึ้น เพื่อเป็นหลักในการจัดสรรเงินให้แก่กระทรวงต่างๆ ให้เป็นสัดส่วนกัน การจัดระเบียบการจัดทำงบประมาณดังกล่าว ทำให้รัฐบาลสามารถจัดพิมพ์งบประมาณรายรับรายจ่ายแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2444

 โปรดให้แยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ในการจัดระเบียบการคลังและจัดทำงบประมาณในครั้งนี้ ได้มีการแยกรายจ่ายส่วนพระองค์ออกจากรายจ่ายของแผ่นดินหรือรายจ่ายเพื่อ สาธารณะ และใน พ.ศ.2441 ได้มีการแยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ออกจากทรัพย์สินของแผ่นดิน แล้วมอบให้พระคลังข้างที่เป็นฝ่ายบริหารพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ต่อไป

 การปฏิรูประบบเงินตรา เนื่องจากการค้าได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง รัชกาลที่ 5 จึงทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงระบบเงินตราให้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายที่ทันสมัย ดังเช่นที่ประเทศตะวันตกปฏิบัติกันอยู่ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการซื้อขายยิ่งขึ้น โดยมีการปฏิรูปเงินตราดังนี้

พ.ศ.2422 โปรดเกล้าฯให้สร้างหน่วยเงินที่เรียกว่า “สตางค์”






ขึ้นใช้ โดยกำหนดให้ 100 สตางค์ เป็น 1 บาท พร้อมทั้งผลิตเหรียญสตางค์ขึ้น 4 ราคา คือ 20 สตางค์ 10 สตางค์ 5 สตางค์ และ 2 1/2 สตางค์ ใช้ปนกับเงินซีก เสี้ยว อัฐ ต่อมาในปลายรัชกาล โปรดให้ยกเลิกเงินเฟื้อง ซีก เสี้ยว อัฐ และโสฬส ซึ่งเป็นเงินตราแบบเดิม

พ.ศ.2445 โปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ.121 และจัดตั้งกรมธนบัตรขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในการออกธนบัตรให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น

          สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรม หมื่นมหิศรราชหฤทัย ทรงดำริที่จะจัดตั้งธนาคารของคนไทยเพื่อสนับสนุนการค้าและเศรษฐกิจของคนไทย ให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับชาวต่างประเทศ จึงได้ทรงเริ่มต้นด้วยการจัดตั้ง “บุคคลัภย์” (ฺBook Club) ขึ้นก่อน เมื่อ วันที่ 4 ตุลาคม 2447 และทดลองดำเนินกิจการภายในประเทศเท่านั้น ต่อมาเมื่อกิจการดำเนินไปด้วยดี และได้รับความเชื่อถือจากประชาชน จึงได้เปลี่ยนจาก “บุคคลัภย์”มาเป็นแบงค์ ใช้ชื่อว่า แบงก์สยามกัมมาจล มีนโยบายเช่นเดียวกับธนาคารต่างประเทศ นับเป็นธนาคารแห่งแรกของประเทศที่ตั้งขึ้นมาด้วยเงินทุนของคนไทย ต่อมาธนาคารนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด”










พระราชประวัติรัชกาลที่ 5

พระราชประวัติรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว      พระราชประวั ติ               พระบา...