วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561

ด้านการเมืองการปกครอง

                                ด้านการเมืองการปกครอง






การปฏิรูปการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์นั้น  พระองค์ทรงมีพระชนมายุ
ได้เพียง  15  พรรษา  มีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค) 
ทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  การปกครองส่วนใหญ่อยุ่ในมือของราชินิกุลสายบุนนาค
สาเหตุของการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่

ปัจจัยภายใน

การเมือง  ถือเป็นเหตุการณ์ความวุ่นวายภายในประเทศ  จะเห็นได้ว่า  เมื่อรัชกาลที่ 5  ขึ้นครองราชย์
 พระองค์แทบจะไม่มีพระราชอำนาจเลย  เพราะอำนาจทางการเมืองส่วนใหญ่
ตกอยู่กับขุนนางตระกูลบุนนาค  ดังจะเห็นได้จากช่วงต้นรัชกาล  สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ทำการแต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิชัยชาญขึ้นดำรงตำแหน่งวังหน้าเอง   ต่อมาใน  พ.ศ.  2418  เกิดความตึงเครียดระหว่างฝ่ายวังหลวงกับฝ่ายวังหน้า  ที่เรียกว่า  “วิกฤตการณ์วังหน้า”
2.  การปกครอง  พบว่า  การแบ่งงานในส่วนกลางเกิดความสับสนก้าวก่ายกัน  เป็นผลให้การดำเนินงานของรัฐบาลล่าช้า  ขาดประสิทธิภาพ  เกิดความแตกแยก
ส่วนงานบริหารราชการส่วนภูมิภาคนั้น  ในทางปฏิบัติรัฐบาลปกครองหัวเมืองโดยตรงได้เพียงไม่
กี่หัวเมืองที่ตั้งอยู่รอบๆ พระนคร  ซึ่งสาเหตุสำคัญ  คือ  ปัญหาจากการคมนาคม  และการที่พระเจ้าแผ่นดินมีพระราชทรัพย์ น้อย  จึงไม่สามารถส่งข้าราชการของตนไปปกครองหัวเมืองได้มาก  พวกข้าราชการในหัวเมืองตั้งตนเอง เป็นใหญ่  และคอยปิดบังไม่ให้รัฐบาลทราบว่า  มีภาษี  รายได้  หรือจำนวนประชากรเท่าไร 
อีกทั้งรัฐบาลมิได้มีสิทธิ์แต่งตั้งเจ้าเมืองตามกลไกของรัฐ  รัฐบาลเพียงแต่ทำหน้าที่แค่รับรองอำนาจ
เจ้าเมืองเท่านั้น  เมื่อเจ้าเมืองได้รับการรับรองอำนาจอย่างเป็นทางการจากราชธานีแล้ว  ก็เริ่มทำการ 
“กินเมือง”  (เก็บภาษี  ใช้แรงงานไพร่  เก็บเงินราชการจากไพร่  มีสิทธิลงโทษพลเมืองของตน) 
กรุงเทพฯจึงควบคุมหัวเมืองได้แบบหลวมๆ  เท่านั้น
3.  การคลัง  พบว่า  รายได้ที่เข้ามาสู่วังหลวง  มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงปรากฏ
ไปทั่วทุกกรมกอง  ผลประโยชน์ของแผ่นดินกลายเป็นรายได้ส่วนตัวของเจ้าภาษีนายอากร  และขุนนาง ในหัวเมือง  ส่วนขุนนางจากส่วนกลางที่ดูแลหัวเมืองสามารถสร้างความสัมพันธ์กับเจ้าภาษีนายอากร    และขยายเครือข่ายทางการค้าของตนเองออกไปอย่างกว้างขวางจนมีฐานะมั่งคั่งมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งขุนนางตระกูลบุนนาค
4.  สังคม  ปัญหาของสังคมไทยที่สำคัญ  คือ  ระบบไพร่และทาสกำลังเสื่อมลงถึงจุดต่ำสุด  กษัตริย์ไม่ สามารถคุมกำลังคนได้จริงตามระบบ  กลายเป็นขุนนางที่คุมกำลังไพร่  นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาการควบคุมชาวจีนที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น  ชาวจีนเหล่านี้เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาษีนายอากร  และ เจ้าของแหล่งผลิตขนาดใหญ่  ซึ่งมีความสำคัญต่อการเติบโตทั้งทางการค้าและการผลิตของกรุงเทพฯ

ปัจจัยภายนอก

เกิดจากภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตก  ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้อง รักษาเสถียรภาพของเมืองไทยไว้ด้วยการสร้างอำนาจให้แก่รัฐบาล  เพื่อจะได้ทรงเป็นผู้วางแผนการ ปฏิรูปการปกคอรงให้รัดกุมและเหมาะสม  เพื่อความมั่นคงของราชบัลลังก์และเอกราชของประเทศ
                 
ขั้นตอนของการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่  5

แบ่งออกเป็น  2  ระยะ
ระยะแรก  (พ.ศ.  2413 – 2430)
พ.ศ.  2413  ทรงตั้งกรมทหารมหาดเล็กขึ้น  เพื่อให้เป็นเสมือนกองทัพของพระมหากษัตริย์ 
เป็นที่น่าสังเกตว่า  ในระยะเวลานี้ทรงหันมาใช้ราชินิกูลสาย “ชูโต” เพื่อคานอำนาจกลุ่มตระกูลสาย “บุนนาค”  แทน
พ.ศ.  2416  ทรงจัดให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่  2
หลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ทรงตราพระราชบัญญัติขึ้น  4  ฉบับ  คือ  พระราชบัญญัติว่าด้วย
รัฐมนตรีสภาและองคมนตรีสภา,  ว่าด้วยการจัดการพระคลังทั้งปวง,  ตระลาการศาลรับสั่ง, 
และพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย
พระราชบัญญัติเหล่านี้  ทำให้เจ้านายและขุนนางหลายฝ่ายเสียผลประโยชน์  เช่น  พระราชบัญญัติ
การจัดการพระคลังทั้งปวง  ทำให้เกิดการตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์  ทำหน้าที่จัดการรายรับรายจ่ายของแผ่นดิน  รวบรวมภาษีอากรเข้าสู่คลังหลวง  ถือเป็นการลิดรอนอำนาจของกรมกองต่างๆ  ที่เคยเก็บภาษีได้
เอง  ในที่สุดได้เกิดความขัดแย้งระหว่างวังหน้ากับวังหลวงที่เรียกว่า  “วิกฤตการณ์วังหน้า”  ในปี  พ.ศ.  2418  เหตุการณ์วิกฤตการณ์วังหน้านี้  เป็นเหตุให้รัชกาลที่  5  ทรงหยุดการปฏิรูปลงชั่วคราว 
แล้วดำเนินวิเทโศบายแบบค่อยเป็นค่อยไปแทนจน พ.ศ.  2428  เมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคต  รัชกาลที่  5  ทรงประกาศยกเลิกตำแหน่งวังหน้า  และแต่งตั้งตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมารขึ้นแทน  ในระยะ  10  ปี  ที่การปฏิรูปเมืองหลวงหยุดชะงักไปนั้น  การปฏิรูปการปกครองทางหัวเมืองได้ดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่อง  รัฐบาลเริ่มป้องกันอิสรภาพและเอกภาพของเมืองไทย  โดยส่งข้าหลวงไปประจำยังเมืองประเทศราชและหัวเมือง ตามชายแดนในตำแหน่ง  “ข้าหลวงประจำหัวเมือง”  เพื่อกระชับการปกครอง  การศาลและการคลัง 
มีการพัฒนาด้านการคมนาคม  สร้างทางรถไฟ  เริ่มทำแผนที่  และจัดตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลข  นอกจากนี้พระองค์ท่านยังออกเสด็จประพาสตามหัวเมืองต่างๆ  หลายครั้ง  การกระชับการปกครองหัวเมืองต่างๆ  เพื่อรักษาเสถียรภาพทางชายแดนให้พ้นจากภัยคุกคามของมหาอำนาจตะวันตก
ระยะที่สอง  (พ.ศ.  2430 – 2435)

การปกครองส่วนกลาง

            ทรงยกเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์  ยกฐานะกรมขึ้นเป็นกระทรวงทั้งหมด  12  กระทรวง

การปกครองส่วนภูมิภาค

            มีการยกเลิกระบบกินเมืองที่สืบทอดตำแหน่งกันในตระกูลเจ้าเมือง  และจัดรูปแบบ การปกครองใหม่  พ.ศ.  2437  ทรงให้กระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่ในการจัดระเบียบการปกครอง ส่วนภูมิภาคในลักษณะการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง  คือ  ระบบเทศาภิบาล  แบ่งการปกครองออกเป็นมณฑล  โดยการรวมหัวเมืองทั้งหมดไว้ภายใต้การบังคับบัญชาของกระทรวง ________  กระทรวงดังกล่าวจะมอบนโยบายให้ข้าหลวงเทศาภิบาลออกไปประจำมณฑล  ต่อมามี กฎหมายข้อบังคับลักษณะปกครองหัวเมือง  ร.ศ.  117  (พ.ศ.2441)  มีผลให้การบังคับบัญชาเป็น  
มณฑล  เมือง  อำเภอ  ตำบล  หมู่บ้าน  ตามลำดับ 
 
การปกครองส่วนท้องถิ่น

พ.ศ.  2448  ประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล  โดยเริ่มเป็นครั้งแรกที่  ท่าฉลอม 
สมุทรสาคร  ราษฎรได้รับสิทธิ์ในการเลือกผู้ปกครองของตนเองในระดับหมู่บ้านและตำบล  ราษฎรที่
หลุดพ้นจากระบบไพร่และทาสจะมาขึ้นตรงต่อรัฐบาลของพระมหากษัตริย์  มีการขึ้นทะเบียนราษฎร
ทุกคนให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทยแทนที่ระบบศักดินา
นอกจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงปฏิรูปการเมืองการปกครองแล้ว  ยังทรง
ปฏิรูปในด้านอื่นๆ  ของประเทศด้วย  ดังนี้

การปฏิรูปการคลัง


รัชกาลที่  5  ทรงวางมาตรการต่างๆ  เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐ  โดยตั้ง  “หอรัษฎากรพิพัฒน์” 
ขึ้นทำหน้าที่จัดการรายรับรายจ่ายของแผ่นดิน  มีการปฏิรูประบบเงินตรา  เช่น  สร้างหน่วยเงินที่
เรียกว่า  “สตางค์”  มีการจัดตั้งกรมธนบัตรเพื่อทำหน้าที่ในการออกธนบัตรให้มีมาตรฐานแบบตะวันตก และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งแบงค์สยามกัมมาจลทุน  จำกัด  รัฐค่อยๆเปลี่ยนฐานภาษีจากสุรา  ฝิ่นและ
การพนัน  มาสู่การเก็บภาษีจากผลผลิต  ภาษีที่ดิน  และรัชชูปการมากขึ้น  ทำให้อิทธิพลของเจ้าภาษี
นายอากรและพ่อค้าชาวจีนลดลง
การปฏิรูปการศาลและกฎหมาย
ทรงยกเลิกแบบจารีตนครบาล  และรวบรวมงานการศาลมาไว้ในที่เดียวกัน
การปฏิรูปสังคม

                ทรงมีพระราชดำริยกเลิกระบบไพร่และทาส  มีดังนี้

1.  การเลิกไพร่  เนื่องจากระบบการควบคุมไพร่ในช่วงนี้ไร้ประสิทธิภาพ  พระมหากษัตริย์ไม่สามารถ
ควบคุมคนได้ด้วยเหตุการณ์วิกฤตการณ์วังหน้าใน  พ.ศ.  2417  แสดงให้เห็นว่ากำลังไพร่พลที่ถูกฝึกหัด ตามแบบทหารตะวันตกสามารถสร้างความไม่มั่นคงให้แก่ราชบัลลังก์ได้  อีกทั้งผลจากสนธิสัญญาเบาว์ริงทำให้เกิดการขยายตัวทางการผลิตและค้าข้าวทำให้ต้องการแรงงานเพื่อใช้ในการทำนา  เกิดปัญหา การควบคุมกำลังคน  และการคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตกที่มองว่าการเกณฑ์แรงงานและ การสักเลกเป็นเรื่องเลวร้าย  ขณะเดียวกันรัฐบาลก็จำเป็นต้องมีกองทหารแบบตะวันตกเพื่อป้องกันประ เทศด้วย
รัชกาลที่  5  จึงโปรดเกล้าดังนี้
1.1)      ยกฐานะกรมพระสุรัสวดีให้เท่าเทียมกับกรมสำคัญอื่นๆ
1.2)      ฟื้นฟูกรมทหารหน้า  ในปี  พ.ศ.  2423  ได้ประกาศรับสมัครคนข้อมือขาวหรือไพร่ที่ไม่มีสังกัดมูลนายเข้าเป็นทหาร
1.3)      ควบคุมคนให้ขึ้นสังกัดตามท้องที่การทำสำมะโนครัว  โดยเริ่มจากระดับหมู่บ้าน  ในปี  พ.ศ. 
2442  มีการประกาศเลกที่ไม่ได้เป็นทหารให้ขึ้นสังกัดท้องที่  ถือเอาท้องที่ไพร่อยู่ตามทะเบียนสำมะโน ครัวเป็นสำคัญ  เป็นการยกเลิกไพร่ผ่านมูลนายในที่สุด
1.4)      พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์จ้าง  พ.ศ.  2443  กำหนดให้ค่าจ้างแก่ผู้ถูกเกณฑ์
1.5)      พระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหาร  พ.ศ.  2448  กำหนดชายฉกรรจ์ทุกคนอายุ                18 – 60  ปี  ต้องเป็นทหาร
  ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกต้องเป็นทหารประจำการ  2  ปี  โดยเริ่มที่ชลบุรี  กับมณฑลนครราชสีมา 
นครสวรรค์  พิษณุโลก  และราชบุรี  จนกระทั่งทั่วประเทศในสมัยรัชกลที่  6
การเลิกทาส  พ.ศ.  2417  ออก พ..บ. พิกัดเกษียณลูกทาสลูกไท  กำหนดให้ลูกทาสที่เกิด
ปี พ.ศ.  2411  เมื่ออายุ  21  ปี  เป็นไท  (มีผลเมื่อพ.ศ.2432)     แล้วปี  พ.ศ.  2448  ออก พ..บ. เลิกทาส
3.การปฏิรูปการศึกษา

                ปัจจัยผลักดันให้มีการจัดการศึกษา
  คือ  การเข้ามาของมิชชันนารี,  การเสด็จประพาสต่างประเทศของรัชกาลที่  5,  ตลอดจนต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถสมัยใหม่
-พ.ศ.  2414  ตั้งโรงเรียนในวังหลวง
-พ.ศ.  2424  ตั้งโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก
-จนกระทั่ง  พ.ศ.  2427  มีการตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้น  คือ  โรงเรียนวัดมหรรณาพาราม 
มีจุดประสงค์การจัดการศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรเข้ารับราชการเป็นสำคัญ
-พ.ศ.  2441  แยกการศึกษาออกเป็น  2  ประเภท  คือ  การศึกษาสามัญและการศึกษาพิเศษ
การจัดการศึกษานี้เป็นผลให้ในที่สุดพวกขุนนางต้องเสื่อมอิทธิพลไป และสามัญชนมีโอกาสเลื่อนฐานะในสังคมของตนได้
การบริหารราชการแผ่นดินแบบรวมศูนย์นี้  ช่วยให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นมาก  ทั้งจากภาษีและการค้า 
รัฐนำรายได้นี้ไปใช้จ่ายในการป้องกันประเทศและจัดระเบียบการปกครองภายในให้มั่นคง  มีการ
ปรับปรุงการคมนาคมสื่อสาร  เช่น  การขุดคลอง  สร้างถนน  ติดตั้งเสาโทรเลข  และสร้างทางรถไฟ 
มีผลให้รัฐสามารถจัดการบ้านเมืองให้มีความสงบเรียบร้อยภายในและต้านทานการรุกรานของเจ้าอาณานิคมได้
การรวมอำนาจทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเข้าสู่สถาบันกษัตริย์ถือเป็นการสร้างชาติ  เมื่ออำนาจของรัฐขยายไปสู่ท้องถิ่นและสามารถบังคับบัญชาหัวเมืองอย่างเด็ดขาด  คนจึงถูกดึงให้มีความรู้สึกเป็น
อันหนึ่งอันเดียว  มีความผูกพัน  มีความจงรักภักดีต่อชาติ  และพระมหากษัตริย์
รัชกาลที่ 5  ทรงสร้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สำเร็จใน  พ.ศ.  2435  เป็นผลให้กรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองหลวงที่เป็นศูนย์กลางอำนาจอย่างแท้จริง  และเป็นการปฏิรูปที่ดึงอำนาจและ
ผลประโยชน์เข้าสู่ส่วนกลางมากที่สุดจนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากเจ้าประเทศราชและขุนนาง


หัวเมืองที่สูญเสียอำนาจและผลประโยชน์ต่างไม่พอใจ  ทำให้เกิดเป็นกบฏต่างๆ  เช่น  กบฏเงี้ยวเมืองแพร่  กบฏผีบุญภาคอีสาน  เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พระราชประวัติรัชกาลที่ 5

พระราชประวัติรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว      พระราชประวั ติ               พระบา...